คือเครื่องดนตรีประเภทที่มีสาย ตั้งแต่สายเดียวจนถึง 7 สาย เกิดเสียงได้โดยการดีดด้วยมือข้างหนึ่ง และมืออีกข้างหนึ่งกดสายตามเสียงที่ต้องการ ลักษณะของเครื่องดนตรีประเภทนี้ประกอบด้วยส่วนที่เป็นกระพุ้ง บางทีก็เรียกว่า “กะโหลก" เพื่อสำหรับทำให้เสียงที่ดีดดังก้องกังวาน มีคันทวน ลูกบิด สะพานหนู หรือนม เป็นส่วนประกอบที่ทำให้เกิดเสียง แต่เดิมเครื่องดนตรีที่มีสายใช้ดีด เราเรียกตามบาลีและ สันสฤกษว่า “ พีณ “ ต่อมาบัญญัตชื่อเรียกใหม่ตามรูปร่าง ตามวัสดุ หรือตามภาษาของชาตินั้นๆ เช่น กระจับปี่ พิณน้ำเต้า พิณเพี๊ยะ และจะเข้ เป็นต้น
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พิณน้ำเต้า
เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีดที่มีสายเดียวชนิดนี้เข้าใจว่าชาวอินเดียนำมาแพร่หลายอยู่ในดินแดนแหลมอินโดจีก่อนแล้วขอมโบราณหรือเขมรรับช่วงไว้ก่อนที่ชาวไทยจะอพยพลงมาถึงที่เรียกพิณน้ำเต้าก็เพราะนำผลเปลือกน้ำเต้ามาทำเป็นกระพุ้ง ส่วนประกอบของพิณน้ำเต้ามีดังนี้
• กะโหลก ทำด้วยผลเปลือกน้ำเต้า ตัดครึ่งลูก โดยเอาจุกหรือทางขั้วไว้ เจาะตรึงติดกับไม้คันพิณ ซึ่งเรียกว่า “คันทวน“
• คันทวน ทำด้วยไม้ เหลาให้มีลักษณะกลมเรียวยาว หัวใหญ่ปลายโค้งงอ ยอดสุดกลึงเป็นรูป
• เม็ด สำหรับผูกสาย ส่วนตอนหัวกลึงเป็นรูปเม็ด แต่ใหญ่กว่าตอนยอด เพื่อสวยงาม
• ลูกบิดทำด้วยไม้กลมเรียวเล็กตอนหัวกลึงเป็นเม็ดประกอบลูกแก้วตอนปลายเรียวเล็ก เพื่อสอดใส่เข้าไปในคันทวน และให้ปลายโผล่เพื่อพันผูกสาย
• รัดอกทำด้วยเชือกสำหรับโยงมัดสายกับคนทวนเหนือขั้วผลน้ำเต้าสูงพอประมาณเพื่อให้สายตึงได้เสียงที่ไพเราะ
• สาย แต่เดิมใช้เส้นหวาย ต่อมาใช้สายไหม ปัจจุบันใช้สายทองเหลือง โดยพันผูกจากปลายลูกบิดไปยังปลายคันทวนที่โค้งงอ
หลักการดีด
ผู้ดีดไม่สวมเสื้อ ใช้มือซ้ายจับคันทวน ให้กะโหลกพิณประกบแนบชิดติดเนื้อตรงอกเบื้องซ้ายของผู้เล่น ใช้มือขวาดีดสาย ขณะดีดจะขยับกะโหลกน้ำเต้าเปิด-ปิดอยู่ตรงทรวงอก เพื่อให้เสียงสั่นระริก
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พิณเพี๊ยะ(พิณเปี๊ยะ หรือเปี๊ยะ)
เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีดที่เก่าแก่ของชาวลานนา ( เหนือ ) มีสายตั้งแต่ 2 สาย ถึง 7 สาย เดิมใช้เป็นเครื่องดีดสำหรับแอ่วสาว นิยมดีดเพลงที่มีทำนองช้าๆ เช่น เพลงปราสาทไหว มีส่วนประกอบดังนี้
• กะโหลก ทำจากผลกะโหลกมะพร้าวแห้ง ตัดครึ่งลูก ขัดเกลาให้บาง ผูกติดกับคันเพี๊ยะโดยมีไม้กลึงท่อนเล็กๆเจาะรูร้อยเชือก เชื่อมระหว่างกะลาตอนบนกับคันเพี๊ยะ
• คันเพี๊ยะ หรือคันทวน ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เหลากลมเรียวยาว ตอนปลายทำด้วยโลหะเป็นรูปนกหัสดีลิง เพื่อพันผูกสาย ตอนโคนใหญ่เจาะรู ๒ รู เพื่อสอดใส่ลูกบิด
• ลูกบิด ทำด้วยไม้ หัวเรียวใหญ่ ปลายเล็กเพื่อสอดใส่ในรูคันเพี๊ยะ
• สาย ทำด้วยสายป่าน ต่อมาใช้สายลวด หรือสายทองเหลืองโดยโยงจากปีกนกหัสดีลิงไปพันผูกที่ลูกบิด
• รัดอก ทำด้วยเชือก โดยรัดสายเพี๊ยะให้ติดกับคันทวน ซึ่งใช้เชือกเส้นเดียวกันกับเชือกที่ผูกกะลาที่ติดกับคันเพี๊ยะนั่งเอง
หลักการดีดเพี๊ยะ
ผู้ดีดจะยืนไม่สวมเสื้อมือซ้ายจับคันเพี๊ยะหงายมือให้คันเพี๊ยะอยู่ระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ ให้กระโหลกของเพี๊ยะปิดเนื้อทรวงอกพอดี เวลาดีดจะเปิดกะลากับทรวงอกให้เสียงดังกังวาน มือขวาดีดโดยการคว่ำมือ ให้คันเพี๊ยะอยู่ระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ เวลาดีดใช้นิ้วนาง กลาง และก้อย
วิธีดีดพิณ
1.เสียงป็อกคือการดีดที่ใช้นิ้วนางดีดสายเรียงลำดับ3จุด
2.เสียงใหลคือการเลื่อนใหลมือในขณะดีด
3. เสียงจก คือการดีดที่ใช้นิ้วก้อยของมือขวา
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
กระจับปี่
เป็นเครื่องดนตรีที่มีสาย ที่ใช้ดีดอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งแต่เดิมคงใช้ดีดเล่นเป็นสามัญเช่นเดียวกับพิณเพี๊ยะและเครื่องดนตรีอื่นๆ ในกฏมณเฑียรบาลสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้กล่าวถึงกระจับปี่ไว้ตอนหนึ่งว่า " ร้องเพลงเรือ เป่าปี่ เป่าขลุ่ย สีซอ ดีดจะเข้ กระจับปี่ ตีโทนทับโห่ร้องนี่นั่น" ต่อมาพบว่านำไปดีดร่วมกับวงขับไม้เรียกชื่อวงภายหลังว่า "วงมโหรีเครื่องสี่และวงมโหรีเครื่องหก"
ต่อมาเมื่อวงมโหรีได้ขยายวงโดยให้มีเครื่องดนตรีผสมในวงมากขึ้น กระจับปี่ซึ่งมีเสียงเบาจึงถูกกลบเสียงจนไม่ได้ยินเสียงของตัวเองกระจับปี่จึงเริ่มขาดหายไปจากวงการดนตรี
ในปัจจุบันกรมศิลปากรได้สร้างระบำชุดโบราณคดี 5 สมัยขึ้น พบว่ากระจับปี่เป็นเครื่องดนตรีชิ้นหนึ่งที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นๆ จึงได้นำมาร่วมบรรเลงผสมกับดนตรีชิ้นอื่นๆโดยเฉพาะในชุด "ระบำศรีวิชัยและชุด ระบำลพบุรี " ตามแนวคิดของนายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากรโดยมีอาจารย์มนตรี ตราโมท เป็นผู้แต่งทำนองเพลงกระจับปี่จึงยังไม่หายไปจากวงกรดนตรีของไทย ส่วนประกอบของกระจับปี่มีดังนี้
• ตัวกะโหลก ทำด้วยไม้แผ่นบางๆมีลักษณะ แบนกลมรีคล้ายกีต้าฝรั่ง ภายในเป็นโพรงไม้แผ่นหน้าตรงกลางเจาะรูเป็นวงกลมเพื่อระบายเสียงส่วนด้านหลังมีแผ่นไม้บางๆปิดตลอด
• คันทวน ทำด้วยไม้ท่อน ยาวเรียวต่อจากกะโหลก ด้านหลังมน ด้านหน้าแบน เพื่อติดนม ตอนปลายทำให้แบนและบานปลายแบะผายออกไปก่อนถึงปลายคันทวน เจาะรู 4 รู เพื่อสอดใส่ลูกบิดข้างละ 2 อัน
• รางลูกบิด ทำด้วยไม้ เป็นรูปยาว หัวโค้ง ปลายตัดตรงติดกับซุ้มหย่อง ตอนกลางเป็นร่องโปร่ง เพื่อให้สายผ่านไปยังลูกบิด
• ลูกบิด ทำด้วยไม้ ลักษณะเรียวยาว กลึง หัวเป็นลูกแก้วประดับเม็ดเจาะรูตอนปลายเพื่อสอดใส่ที่ปลายคันทวน ด้านละ 2 ลูก
• ซุ้มหย่อง ทำด้วยไม้ลักษณะด้านล่างเป็นขา 2 ขา ด้านบนเป็นทรงแหลมตอนกลางโปร่งบากเป็นช่องเล็กๆ 4 ช่อง เพื่อรับสายทั้ง 4 เส้นไม่ให้ชิดติดกัน ตัวซุ้มติดอยู่บริเวณปลายคันทวนต่อจากรางลูกบิด
• นม ทำด้วยไม้เล็กๆ ติดนูนขึ้นมาบริเวณกลางคันทวนเรียงตามลำดับ 11 นม
• หย่อง ทำด้วยไม้ไผ่เล็กๆ ติดอยู่ที่หน้ากะโหลก ก่อนถึงรูระบายเสียง สำหรับหนุนสายให้ลอยตัว เหนือนมทั้ง 11 อัน
• หลักผูกสายทำด้วยโลหะเป็นแผ่นยึดติด ที่หน้ากะโหลกด้านล่างมีรูสำหรับผูกสายทั้ง 4เส้น
• สาย ทำด้วยสายไหม มี 4 เส้นโดยผูกจากหลัก ขึงเป็นคู่ผ่านหย่อง นม ซุ้มหย่อง และรังลูกบิดไปยังพันผูกที่ปลายลูกบิด
• ไม้ดีด ทำด้วยแผ่นไม้บางๆเช่นเดียวกับปิ๊คที่ดีดกีต้ากระจับปี่บางตัวประดิษฐ์ให้สวยงามขึ้นโดยปลายคันทวนด้านหน้าที่ผายแบะออกจะแกะเป็นลวดลาย นอกจากนั้นที่รูระบายและไม้แผ่นหน้าโดยรอบอย่างสวยงาม
หลักการดีดกระจับปี่
ผู้ชายจะนั่งท่าขัดสมาธิ ผู้หญิงนั่งในท่าพับเพียบ ให้กะโหลกวางอยู่บนหน้าตักหรือหน้าขา ใช้มือขวาจับไม้ดีด ซึ่งทำด้วยไม้แผ่นบางๆดีดปัดสายเข้า-ออก ในขณะเดียวกัน ก็ใช้นิ้วมือซ้ายกดที่สายแนบกับนม เพื่อให้เสียงสูง-ต่ำตามที่ต้องการ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
จะเข้
เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีดอีกอย่างหนึ่งที่มีสาย 3 สาย ในกฎมณเฑียรบาลสมัยอยุธยาตอนต้น ได้ระบุว่าจะเข้มีเล่นมาแล้วแต่ยังมิได้ผสมเป็นวงคงต่างคนต่างเล่นเล่น ดังกฏมณเฑียรบาลที่ว่า " ร้อง(เพลง)เรือ เป่าขลุ่ย เป่าปี่ ตีโทนทับขับรำโห่ร้องนี่นัน "สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงประธานอธิบายถึงกำเนิดวงเครื่องสายไว้ว่า "ผู้ชายบางพวกซึ่งหัดเล่นเครื่องสายอย่างจีน จึงคิดกันเอา ซอด้วง ซออู้ จะเข้กับปี่อ้อ เข้าเล่นผสมกับเครื่องกลองแขกเครื่องผสมอย่างนี้เรียกกันว่า "กลองแขกเข้าเครื่องใหญ่" ซึ่งภายหลังเราเรียกการผสมวงแบบนี้ว่า "เครื่องสายปี่ชวา" แล้วทรงกำหนดเวลาไว้ว่า “เห็นจะเกิดขึ้นในตอนปลายรัชกาลที่ 4 ด้วยเมื่อต้นรัชกาลที่ 5 ยังถือกันว่าเป็นของเกิดใหม่" และทรงประธานต่อไปอีกว่า "ครั้นต่อมาเอากลองแขกกับปี่อ้อออกเสียใช้ทับกับรัมนาและขลุ่ยแทนเรียกว่า" มโหรีเครื่องสาย" บางวงก็เติมระนาดและฆ้องเข้าด้วยจึงเกิดมโหรีเครื่องสายผู้ชายเล่นแทนผู้หญิงอย่างเดิม สืบกันมาจนทุกวันนี้ ที่ผู้หญิงหัดเล่นก็มีแต่น้อยกว่าผู้ชายเล่น แต่การเล่นมโหรีเครื่องสายในชั้นหลังดูไม่มีกำหนดจำนวนเครื่องเล่น เช่น ซอด้วงและซออู้ เป็นต้น แล้วแต่จะมีคนสมัคร เข้าเล่นเท่าใดก็เข้าเล่นได้มาจนถึงสมัยปัจจุบันนี้ บางวงก็แก้ไขเอาซอด้วง ซออู้ออกเสีย ใช้ขิมและฮาโมเนียฝรั่งเข้าผสมแทน จากหลักฐานในกฎมณเฑียรบาลและคำอธิบายของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทำให้เห็นว่าจะเข้มีเล่นมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย โดยเล่นเป็นอิสระ ต่อมาในรัชกาลที่5 จึงรวมเล่นเป็นวงเรียกว่า " วงมโหรีเครื่องสาย " เข้าใจว่าเมื่อมีการจัดรูปแบบการผสมวงดนตรีไทยขึ้นใหม่ โดยแยกเครื่องสายและเครื่องตีประเภททำทำนองออกจากกัน จึงได้วงขึ้นมาใหม่อีก 2 วงคือ "วงเครื่องสาย , วงปี่พาทย์" และยังได้เพิ่มขึ้นมาอีกวงหนึ่ง คือวงมโหรี (วงเครื่องสายผสมกับวงปี่พาทย์ แต่ย่อขนาดเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ให้เล็กลง อันเป็นแบบแผนของวงดนตรีไทยมาจนถึงทุกวันนี้ ดังนั้นจะเข้จึงผสมอยู่ในวงเครื่องสายและวงมโหรี ซึ่งใช้บรรเลงร่วมกับขับร้องในงานมลคลต่างๆโดยเฉพาะเฉพาะในงานมงคลสมรส ส่วนประกอบของจะเข้มี ดังนี้
• ลำตัว ทำด้วยไม้ท่อนขุดแต่งให้เป็นโพรงภายใน มีลักษณะคล้ายจะเข้ คือตอนหัวใหญ่ทำเป็นกระพุ้ง ตอนกลางและตอนปลายยาว มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม ด้านล่างมีไม้กระดานแปะเป็นพื้นท้อง ยาวโดยตลอด ตอนกลางเจาะรูระบายเป็นช่องๆตอนหัวและตอนท้าย จะใช้ไม้กลึงเป็นเท้า รองรับลำตัวตอนหัว 4 เท้า และตอนท้าย 1 เท้า ตรงกลางลำตัวของ จะเข้ตั้งแต่หัวจรดปลายประกอบไปด้วย
• รางรับนม จะบากเป็นร่องยาวตั้งแต่หัวจรดหางใกล้กับรังไหม เพื่อความสวยงาม ทางหัวทำเป็นทรงแหลม ตอนท้ายตัดตรง
• หลักผูกสาย ทำด้วยโลหะกลมเล็ก สำหรับพันผูกสายทั้งสามไปยังลูกบิด
• โต๊ะ ทำด้วยโลหะ แบนเหมือนกล่อง ภายในโปร่งเพื่อหนุนสาย
• แหน ทำด้วยไม้ไผ่เล็กๆวางอยู่บนโต๊ะ เพื่อให้เสียงดังไพเราะในลักษณะของเสียงจะเข้
• นม ทำด้วยไม้ไผ่ มีขาทั้งสอง เพื่อติดตั้งยึดกับรางรับนม ลดหลั่นเรียงเป็นลำดับ ไว้สำหรับรองรับนิ้ว เมื่อกดสายจะเกิดเสียงดังเป็นเสียงต่างๆ จะเข้ตัวหนึ่งจะมี 11 นม นมหนึ่ง จะมีเสียงหนึ่ง ซึ่งเรียงลดหลั่นเป็นลำดับ
• ซุ้มหย่อง ทำด้วยไม้ มีลักษณะคล้ายซุ้มประตู เจาะกลางโปร่ง ขยักหรือบากเป็นร่องรับสายทั้งสามให้อยู่ในตำแหน่ง โดยสายทั้ง 3 เส้นจะไม่ชิดติดกัน
• รังไหม ทำด้วยไม้ เป็นรูปยาวหัวท้ายโค้ง กลางเป็นร่องโปร่ง เพื่อให้สายผ่านลงไปยังลูกบิด
• ลูกบิด ทำด้วยไม้ กลึงตอนหัวกลมใหญ่ยาวพอให้มือจับได้พอดี ตอนปลายเรียวเล็กสำหรับสอดใส่เข้าไปในรูที่เจาะ ให้ปลายโผล่ที่รังไหม เพื่อพันผูกสาย มี 3 ลูกๆหนึ่งอยู่
ด้านใน อีก 2 ลูก อยู่ ด้านนอก
• สายจะเข้ ทำด้วยสายไหม 2 สาย และสายลวด 1 สาย โดยผูกจากหลักที่หัวจะเข้ขึงผ่านโต๊ะ นม ซุ้มหย่อง ลงไปในรังไหมพันผูกที่ปลายลูกบิดทั้งสาม เพื่อเร่งสายให้ตึงหรือหย่อนตามที่ต้องการ
จะเข้บางตัวได้ประดิษฐ์ขึ้นให้สวยงามโดยประดับงาหรือประกอบมุข ฝังเป็นลวดลายหรือทำด้วยงาทั้งแท่ง เช่นลูกบิด เท้า ซุ้มหย่อง เป็นต้นเวลาดีดจะใช้ไม้ดีดซึ่งทำด้วยไม้กระดูกหรืองาช้างซึ่งเหลาให้กลมเรียวแหลมหัวผูกด้วยด้ายไหมสำหรับพันกับนิ้วของมือขวาด้วยหลักและวิธีการพันไม้ดีดโดยเฉพาะ
วิธีดีดจะเข้
1. ดีดไม้ออกไม้เข้า
2. ดีดเรียงเสียงขึ้นลง
3. ดีดเสียงทิงนอย
4. ดีดเก็บคือการดีดให้มีพยางค์ถี่ๆโดยตลอด
5. ดีดรัวคือการดีดที่มีพยางค์ถี่ๆและเร็ว
6.ดีดรูดสายลวดคือการใช้นิ้วรูดผ่านมหลายนมด้วยความเร็ว
7.ดีดสะบัดคือการดีดแทรกพยางค์เสียงให้เร็ว ซึ่งมีทั้งสะบัดเสียงเดียวสะบัดสองเสียงและสะบัดสามเสียง
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ซึง
เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีดอีกชนิดหนึ่งที่มี 4 สาย นิยมบรรเลงเล่นกันอย่างแพร่หลายในภาคเหนือซึ่งเดิมใช้เป็นเครื่องดนตรีประจำตัวของผู้ชาย สำหรับไปแอ่วสาว เช่นเดียวกับพิณเพี๊ยะ ต่อมาได้นำมาผสมวงร่วมบรรเลงกับสะล้อซอและปี่จุมเรียกวงนี้ว่า "ดนตรีพื้นเมืองเหนือหรือวงล้านนา" สามารถบรรเลงเพลงของชาวล้านนาได้อย่างไพเราะ ซึง มีรูปร่างบางอย่างคล้ายคลึงกับกระจับปี่ แต่เล็กกว่า มีส่วนประกอบดังนี้
• กะโหลก ทำด้วยไม้แก่นเนื้อแข็งชิ้นเดียว ติดต่อกับคันทวนมีลักษณะแบนเป็นทรงรี ขุดคว้านตอนที่เป็นกะโหลกให้เป็นโพรงมีไม้แผ่นบาง ตรงกลางเจาะรูกว้างพอประมาณเพื่อระบายเสียงที่ดีดให้ก้องกังวาน ( บางทีเจาะเป็นรูปหัวใจ ) ปิดด้านหน้าส่วนด้านหลังตัน
• คันทวนทำด้วยไม้แก่นเนื้อแข็งชิ้นเดียวกับตัวกะโหลกโดยทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านหลังเกลาลบเหลี่ยมด้านหน้าเรียบเพื่อติดนม ตอนปลายผายด้านข้างออกก่อนถึงปลายคันทวนด้านหน้าเจาะเป็นร่องยาว 2 ร่องสำหรับสายผ่านไปพันผูกที่ปลายลูกบิด และด้านข้างเจาะรูกลมด้านละ 2 รูเพื่อสอดใส่ลูกบิด
• ลูกบิด ทำด้วยไม้เนื้อแข็งลักษณะกลม เรียวด้านหัวใหญ่ขนาดมือจับพอดีตรงกลางกลึงเป็นลูกแก้ว ตอนปลายเรียวเล็กเพื่อสอดใส่ในรูลูกบิดที่บริเวณปลายคันทวน
• หย่องบน ทำด้วยไม้เล็กๆสูงกว่านมเล็กน้อยโดยติดต่อลงมาจากช่องสายผ่านเพื่อหนุนสายให้ลอยเหนือนม
• ตะพานหรือนมทำด้วยไม้เล็กๆเหลาเป็นทรงสามเหลี่ยมติดที่ด้านหน้าคันทวนต่อจากหย่องบนเรียงลำดับ ๙ นมเพื่อกดให้ได้เสียง
• สายทำด้วยลวดทองเหลือง 4 เส้น โดยพันผูกจากลูกบิด แยกเป็นคู่ๆขึงขนานผ่านมายังหน้ากะโหลก ผ่านรูระบายผาดบน “ หย่องล่าง “ ซึ่งทำด้วยไม้เล็กเช่นเดียวกับหย่องบนติดที่หน้ากะโหลกเพื่อหนุนสายให้ผ่านนมและไปพันผูกที่หลักผูกสาย
• หลักผูกสายทำด้วยโลหะหรือแผ่นไม้บาง เจาะรูผูกสายติดอยู่บริเวณด้านล่างของกะโหลก
หลักการดีด
ผู้ดีดนั่งท่าขัดสมาธิ ให้กะโหลกตั้งอยู่บนหน้าขาขวาและให้ปลายคันทวนชี้ไปทางซ้ายของผู้ดีด ใช้มือขวาจับไม้ดีดซึ่งทำด้วยเขาควายเหลาให้บางเรียวแหลม โดยผาดตามแนวของนิ้วชี้โผล่ปลายเล็กน้อย มีนิ้วหัวแม่มือคีบประกบกับนิ้วชี้ดีดบริเวณใกล้กับนมตัวสุดท้าย เสียงจะทุ้มไพเราะดี แต่ถ้าดีดใกล้รูระบายระบาย เสียงจะแหลม ในขณะเดียวกันใช้นิ้วชี้นางกลางและนิ้วก้อยของมือซ้าย กดสายลงตามช่องของนม เพื่อให้เกิดเสียงสูง-ต่ำตามที่ต้องการ
วิธีการดีดซึง
วิธีการดีดของซึงมี2อย่างคือ
1.การดีดที่ใช้ไม้ดีดดีดปัดลงข่างล่างอย่างเดียวซึ่งเป็นการดีดแบบดั่งเดิม
2.การดีดที่ใช้ไม้ดีดดีดปัดขึ้นลงสลับกัน ซึ่งจะได้ท่วงทำนองที่ไพเราะไปอีกแบบหนึ่ง
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พิณ(อีสาน)
เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีดอีกชนิดหนึ่งมี 3 สาย นิยมใช้บรรเลงเล่นกัน ในภาคอิสานของไทย บรรเลงเดี่ยวและบรรเลงผสมกับแคน โปงลาง ไห โหวด กลองฯเรียกว่า " วงดนตรีพื้นเมืองอิสาน " นอกนั้นยังใช้บรรเลงประกอบการเล่นหมอลำในชุดลำเพลินอีกด้วยพิณมีลักษณะคล้ายคลึงกับซึง ( เครื่องดีดของภาคเหนือ ) เพียงแต่มีลักษณะต่างกันเล็กน้อย ส่วนประกอบของพิณมีดังนี้
• กะโหลก ทำด้วยไม้ลักษณะแบนรูปวงรี คล้ายใบไม้มีไม้แผ่นบางๆปิดหน้ากะโหลก ตรงกลางเจาะเป็นรูระบายเสียงหรือเจาะเป็นลวดลายสวยงาม
• คันทวน ทำด้วยไม้แท่งเดียวกับกะโหลกหลัง-หน้า มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมด้านหลังมนด้านหน้าแบนเพื่อติดนม ตอนปลายทวนโค้งงอนไปทางซ้าย บางคันแกะสลักเป็นหัวพญานาค
• รางลูกบิด บริเวณก่อนถึงปลายทวนเจาะเป็นช่องยาวพอประมาณเพื่อสอดสายผ่านลงไปพันผูกที่ลูกบิดด้านข้างทั้งสองเจาะรูสำหรับสอดใส่ลูกบิดโดย เจาะด้านซ้าย 2 รูและด้านขวา 1 รู
• ลูกบิด ทำด้วยไม้ กลึงหัวเป็นรูปเม็ดประกอบด้วยลูกแก้วตอนปลายเรียวเล็กเพื่อสอดใส่ไปในรูลูกบิด ให้ปลายโผล่ด้านในสำหรับพันผูกสาย
• หย่องบนทำด้วยไม้อันเล็กๆติดต่อจากช่องลูกบิดลงมาเพื่อหนุนสายให้ผ่านนม ตะพานหรือนม ทำด้วยไม้อันเล็กๆคล้ายหย่องบน แต่เล็กกว่าติดเรียงลำดับต่อมาจากหย่องบนมี 11 นมโดยติดที่คันทวนด้านหน้า
• สายใช้สายลวด๓เส้นโดยขึงจากหลัก ซึ่งทำด้วยแผ่นโลหะแปะติดบริเวณตอนล่างของกะโหลกผ่าน" หย่องล่าง " ซึ่งทำด้วยไม้เล็กๆหนุนให้สายผ่านหน้ากะโหลกผ่านนมหย่องบนลงไปยังช่องและพันผูกที่ปลายลูกบิดทั้งสามเพื่อบิดเร่งให้สายตึง หรือหย่อนได้ตามที่ต้องการ
หลักการดีดพิณอิสาน
ปกติผู้ดีดจะยืนดีดโดยใช้ผ้าหรือเชือกผูกพิณคล้องคอ ให้ตัวกะโหลกอยู่กลางหน้าอกปลายชี้ขึ้นไปทางซ้ายของผู้ดีดใช้มือขวาจับไม้ดีด ซึ่งทำด้วยเขาควายเฉือนเป็นแผ่นบางๆ(ปัจจุบันใช้ปิคแทน ) ดีดปัดขึ้น-ลงในขณะเดียวกันใช้นิ้วของมือซ้ายกดที่สายใกล้กับนมเพื่อให้เกิดเสียง
วิธีดีดพิณที่ทำให้เกิดเสียง
1.ดีดผ่านทั้ง3สายโดยกดสายเส้นเดียวจะเกิดเสียงประสานขึ้น
2.ดีดเป็นทำนองทีละสายพร้อมทั้งกดทีละเส้นตามท่วงทำนองเพลง
3. ดีดรัว คือการดีดให้มีพยางค์ถี่ๆและเร็ว
4. ดีดสะบัด คือการดีดให้มีพยางค์ ๓ พยางค์ ติดต่อกันด้วยความเร็วทั้งขึ้นและลง
• กะโหลก ทำด้วยไม้ลักษณะแบนรูปวงรี คล้ายใบไม้มีไม้แผ่นบางๆปิดหน้ากะโหลก ตรงกลางเจาะเป็นรูระบายเสียงหรือเจาะเป็นลวดลายสวยงาม
• คันทวน ทำด้วยไม้แท่งเดียวกับกะโหลกหลัง-หน้า มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมด้านหลังมนด้านหน้าแบนเพื่อติดนม ตอนปลายทวนโค้งงอนไปทางซ้าย บางคันแกะสลักเป็นหัวพญานาค
• รางลูกบิด บริเวณก่อนถึงปลายทวนเจาะเป็นช่องยาวพอประมาณเพื่อสอดสายผ่านลงไปพันผูกที่ลูกบิดด้านข้างทั้งสองเจาะรูสำหรับสอดใส่ลูกบิดโดย เจาะด้านซ้าย 2 รูและด้านขวา 1 รู
• ลูกบิด ทำด้วยไม้ กลึงหัวเป็นรูปเม็ดประกอบด้วยลูกแก้วตอนปลายเรียวเล็กเพื่อสอดใส่ไปในรูลูกบิด ให้ปลายโผล่ด้านในสำหรับพันผูกสาย
• หย่องบนทำด้วยไม้อันเล็กๆติดต่อจากช่องลูกบิดลงมาเพื่อหนุนสายให้ผ่านนม ตะพานหรือนม ทำด้วยไม้อันเล็กๆคล้ายหย่องบน แต่เล็กกว่าติดเรียงลำดับต่อมาจากหย่องบนมี 11 นมโดยติดที่คันทวนด้านหน้า
• สายใช้สายลวด๓เส้นโดยขึงจากหลัก ซึ่งทำด้วยแผ่นโลหะแปะติดบริเวณตอนล่างของกะโหลกผ่าน" หย่องล่าง " ซึ่งทำด้วยไม้เล็กๆหนุนให้สายผ่านหน้ากะโหลกผ่านนมหย่องบนลงไปยังช่องและพันผูกที่ปลายลูกบิดทั้งสามเพื่อบิดเร่งให้สายตึง หรือหย่อนได้ตามที่ต้องการ
หลักการดีดพิณอิสาน
ปกติผู้ดีดจะยืนดีดโดยใช้ผ้าหรือเชือกผูกพิณคล้องคอ ให้ตัวกะโหลกอยู่กลางหน้าอกปลายชี้ขึ้นไปทางซ้ายของผู้ดีดใช้มือขวาจับไม้ดีด ซึ่งทำด้วยเขาควายเฉือนเป็นแผ่นบางๆ(ปัจจุบันใช้ปิคแทน ) ดีดปัดขึ้น-ลงในขณะเดียวกันใช้นิ้วของมือซ้ายกดที่สายใกล้กับนมเพื่อให้เกิดเสียง
วิธีดีดพิณที่ทำให้เกิดเสียง
1.ดีดผ่านทั้ง3สายโดยกดสายเส้นเดียวจะเกิดเสียงประสานขึ้น
2.ดีดเป็นทำนองทีละสายพร้อมทั้งกดทีละเส้นตามท่วงทำนองเพลง
3. ดีดรัว คือการดีดให้มีพยางค์ถี่ๆและเร็ว
4. ดีดสะบัด คือการดีดให้มีพยางค์ ๓ พยางค์ ติดต่อกันด้วยความเร็วทั้งขึ้นและลง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น